กระทรวงการคลังของเวียดนามมีแผนปรับลดภาษีส่งออกยางให้เป็นศูนย์
กระทรวงการคลังของเวียดนามมีแผนปรับลดภาษีส่งออกยางให้เป็นศูนย์
สถานการณ์ยางประจำวัน
สถานการณ์ยางพารา ประจำวันที่ ��21 กรกฎาคม 2557
\"กราส\" เทคโนโลยีแยกเนื้อยาง
\"กราส\" เทคโนโลยีแยกเนื้อยาง
คสช.ลุยตรวจสอบสต๊อกยางพารา 210,000 ตัน พร้อมลุยพวกปล่อยข่าวยางพาราล้นสต๊อก
คสช.ลุยตรวจสอบสต๊อกยางพารา 210,000 ตัน พร้อมลุยพวกปล่อยข่าวยางพาราล้นสต๊อก
ขาย ถ้วยยาง สนใจตัวแทนจำหน่ายถ้วยรองน้ำยางพารา ติดต่อ 081-257-1506
  

ข่าวสาร และกิจกรรม
เกษตรกรในเวียดนามลดพื้นที่ปลูกยางลงหลายเฮกตาร์เนื่องจากราคายางตกต่ำ




พื้นที่ปลูกยางหลายพันเฮกตาร์ในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศเวียดนามถูกกำจัดเป็นจำนวนมากตั้งแต่ราคายางในตลาดโลกซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกขนานนามว่า “ทองคำขาว” ได้ลดฮวบลง

ตามที่นาย Vuong Quoc Thoi ผู้อำนวยการเกษตรและการพัฒนาชนบทจังหวัด Tay Ninh กล่าวว่า พื้นที่ปลูกยางจำนวน 1,300 เฮกตาร์ในจังหวัดได้ถูกกำจัดจนหมด

นาย Thoi กล่าวว่า ราคายางในตลาดโลกลดลงอย่างมากเนื่องจากมีผลผลิตส่วนเกินจำนวนมาก ประเทศไทยจำหน่ายน้ำยางในตลาดถึง 200,000 ตัน ในขณะเดียวกันจีนนำเข้ายางจากเวียดนามถึงร้อยละ 50 ของปริมาณการส่งออกยางทั้งหมดของเวียดนาม แต่ได้ปรับลดปริมาณการนำเข้าลง

“ราคายางเคยเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านดงต่อตัน แต่ขณะนี้ได้ลดลงอย่างมากเหลือเพียง 20 ล้านดงต่อตันเท่านั้น” นาย Thoi กล่าว

นาย Nguyen Quang Tuan เจ้าหน้าที่อาวุโสกล่าวว่า หลายเดือนที่ผ่านมาเกษตรกรได้โค่นต้นยางในพื้นที่ประมาณ 100 เฮกตาร์ ในจังหวัด Dak Nong

ด้าน นาย Nguyen Van Toi ผู้อำนวยการเกษตรจังหวัด Binh Phuoc ได้ยืนยันว่าต้นยางในจังหวัดได้ถูกโค่นลง แม้ว่าเขาจะยังไม่สามารถบอกจำนวนที่ชัดเจนได้ก็ตาม ซึ่งเขาคิดว่าถือเป็นเรื่องปรกติสำหรับเกษตรกรที่จะปลูกพืชชนิดหนึ่งเมื่อสามารถทำกำไรได้ และตัดทิ้งเมื่อราคาลดลงถึงระดับที่ไม่สามารถทำกำไรให้ได้อีกต่อไป

“สวนผลไม้สามารถทำกำไรได้สูงถึง 400 – 500 ล้านดงต่อเฮกตาร์หลังจากสามปีก่อน ในขณะที่สวนยางสามารถทำกำไรได้เพียง 90 ล้านดงต่อเฮกตาร์เท่านั้น

นี่คือเหตุผลที่ทำให้เกษตรกรลดการปลูกยางลงและหันไปทำสวนผลไม้แทน” นาย Toi กล่าว

 

 

ใครควรจะถูกตำหนิ?

 

นาย Toi ได้กล่าวย้ำว่าเกษตรกรไม่สามารถตำหนิเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเรื่องราคายางที่ตกต่ำและการปลูกยางที่ไม่ได้ผลกำไรของพวกเขาได้

“ครั้งหนึ่ง เราได้ให้คำแนะนำว่าเกษตรกรควรโค่นต้นยางในพื้นที่ที่ไม่ทำกำไรจำนวน 20,000 เฮกตาร์ แต่พวกเขาก็ยังตัดสินใจที่จะเก็บมันไว้และปลูกยางต่อไป พวกเขามีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองและต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจดังกล่าวเองด้วย” นาย Toi กล่าว

ด้าน นาย Thoi ผู้อำนวยการเกษตรและการพัฒนาชนบทจังหวัด Tay Ninh ไม่สามารถตอบได้ว่าใครควรรับผิดชอบกรณีที่ผลผลิตยางมีมากเกินไป  “ในอดีต ราคาน้ำยางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นให้เกษตรกรหันมาปลูกยางในบริเวณพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 5,000 เฮกตาร์ถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ปลูกยางแทน” เขากล่าว

อย่างไรก็ตาม นาย Thoi คิดว่าเกษตรกรไม่ควรถูกตำหนิในกรณีนี้ และไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐเนื่องจากกลยุทธ์การพัฒนายางจัดเป็น “แผนแบบเปิดกว้าง”

สำหรับความเห็นเกี่ยวกับความล้มเหลวของโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม นาย Pham Minh Dao ผู้อำนวยการเกษตรจังหวัด Dong Nai ให้ความเห็นว่า “ไม่เพียงแต่ยางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพืชชนิดอื่นๆ อีกที่กำลังแย่ และมันจะดีกว่าหากจะถามไปยังกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท”

นาย Dao เชื่อว่ามีปัญหาหลายอย่างในตัวโครงการและการดำเนินโครงการ และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเกษตรกรถึงปลูกพืชอย่างเป็นปกติเมื่อราคาแกว่งตัว และโค่นทิ้งเมื่อราคาตกลง

“หลายโครงการได้ถูกดึงขึ้นมา แต่ไม่มีหน่วยงานใดที่จะก้าวเข้ามากำหนดกลไกที่เหมาะสมเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว” เขากล่าว

ก่อนสิ้นปี 2556 เวียดนามมีพื้นที่ปลูกยางจำนวน 915,000 เฮกตาร์ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายของรัฐที่กำหนดไว้ในยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ปลูกยางที่มีจำนวน 800,000 เฮกเตอร์ และมากกว่าที่กำหนดในปี 2563

ที่มา http://rubberjournalasia.com (02/07/57)


 
 
 

 

เรื่องราวของถ้วยยาง

หลายคนคงเคยสงสัยนะครับว่ายางพารายางรถยนต์ที่เราใช้กันนั้นมีที่มาจากไหนกว่าจะมาเป็นยางให้เราใช้กัยเค้ามีกระบวนการทำกันอย่างไร

ยางนับว่าเป็นวัตถุดิบที่มีความต้องในตลาดสูงมากทั่วโรคเพราะสามารถนำไปใช้ดัดแปลงผลิตเป็นสินค้าได้หลายรุปแบบแม้กระทั้งหนังยางหนังสติกที่ใช้กัน

ก็ทำมาจากยางพาราทั้งสิ้นตลอดจนการนำยางมาทำ ถ้วยยาง จอดยาง สามารถทำออกออกเพื่อประโยชน์ใช้สอยในงานต่าง ๆ ได้ เพราะถ้วยยางมีคุณสมบัติ

ที่ไม่ติด ต่อวัตถุง่าย และสามารถล้างและทำความสะอาดได้อย่างง่ายดายจึงเหมาะแก่การนำมาใช้ในหลากหลายอาชีพครับ