กระทรวงการคลังของเวียดนามมีแผนปรับลดภาษีส่งออกยางให้เป็นศูนย์
กระทรวงการคลังของเวียดนามมีแผนปรับลดภาษีส่งออกยางให้เป็นศูนย์
สถานการณ์ยางประจำวัน
สถานการณ์ยางพารา ประจำวันที่ ��21 กรกฎาคม 2557
\"กราส\" เทคโนโลยีแยกเนื้อยาง
\"กราส\" เทคโนโลยีแยกเนื้อยาง
คสช.ลุยตรวจสอบสต๊อกยางพารา 210,000 ตัน พร้อมลุยพวกปล่อยข่าวยางพาราล้นสต๊อก
คสช.ลุยตรวจสอบสต๊อกยางพารา 210,000 ตัน พร้อมลุยพวกปล่อยข่าวยางพาราล้นสต๊อก
ขาย ถ้วยยาง สนใจตัวแทนจำหน่ายถ้วยรองน้ำยางพารา ติดต่อ 081-257-1506
  

ข่าวสาร และกิจกรรม
สกย.ห่วงสวนยางใกล้เปิดกรีดฤดูใหม่




มีผลการศึกษาวิจัยเรื่องการเปิดกรีดยางระบุชัดว่า จะต้องดูจากเส้นรอบลำต้นเท่านั้น ไม่ได้ดูจากอายุยาง ที่ว่า เมื่อยางมีอายุ 6-7 ปีแล้วสามารถเปิดกรีดได้นั้น เป็นการเข้าใจผิด

วันศุกร์ 27 มิถุนายน 2557 เวลา 00:00 น.
นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า  ขณะนี้สวนยางพาราทั่วประเทศไทยที่มีอายุ 6-7 ปี มีประมาณ 800,000–900,000 ไร่ แบ่งเป็นสวนในพื้นที่ปลูกยางใหม่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 500,000-600,000 ไร่ ที่เหลืออีก 300,000 ไร่ เป็นยางในพื้นที่เก่าภาคใต้และภาคตะวันออกที่ปลูกทดแทนสวนยางเดิมที่มีอายุมาก แต่การที่จะเปิดกรีดได้นั้น ต้นยางจะต้องมีระดับความสูง 150 ซม. จากพื้นดิน และมีขนาดเส้นรอบลำต้นไม่น้อยกว่า 50 ซม. เป็นสำคัญ หากต้นยางมีเส้นรอบลำต้นน้อยกว่านี้ เกษตรกรไม่ควรจะเปิดกรีดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผลผลิตน้ำยางต่ำ ต้นยางเจริญเติบโตช้า และยังมีอายุการกรีดสั้นลงไม่ถึง 25 ปีอีกด้วย

“มีผลการศึกษาวิจัยเรื่องการเปิดกรีดยางระบุชัดว่า จะต้องดูจากเส้นรอบลำต้นเท่านั้น ไม่ได้ดูจากอายุยาง ที่ว่า เมื่อยางมีอายุ 6-7 ปีแล้วสามารถเปิดกรีดได้นั้น เป็นการเข้าใจผิด  หากเกษตรกรต้องการเปิดกรีดยางให้ได้เร็ว ต้องบำรุงรักษาสวนยางให้ถูกต้อง ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องตลอด 3 ฤดูกาล เพื่อปรับโครงสร้างดินให้อุดมสมบูรณ์ ต้นยางจะได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน ซึ่งมีสวนยางหลายแห่งที่มีการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ต้นยางอายุเพียง 5 ปี ก็สามารถเติบโตมีเส้นรอบลำต้นมากกว่า 50 ซม. สามารถเปิดกรีดยางได้ และยังให้ผลผลิตน้ำยางสูงอีกด้วย” นายประสิทธิ์กล่าว

สำหรับการดูแลรักษาสวนยางก่อนเปิดกรีดยางนั้น เกษตรกรจะต้องกำจัดวัชพืชในแถวยาง และทำการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 20-8-20 ในพื้นที่ปลูกยางเก่า และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-12 ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ และควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย โดยให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี โดยช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้ และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยางอยู่ในระหว่างผลิใบ

ที่มา : ตลาดกลางยางพาราหนองคาย


 
 
 

 

เรื่องราวของถ้วยยาง

หลายคนคงเคยสงสัยนะครับว่ายางพารายางรถยนต์ที่เราใช้กันนั้นมีที่มาจากไหนกว่าจะมาเป็นยางให้เราใช้กัยเค้ามีกระบวนการทำกันอย่างไร

ยางนับว่าเป็นวัตถุดิบที่มีความต้องในตลาดสูงมากทั่วโรคเพราะสามารถนำไปใช้ดัดแปลงผลิตเป็นสินค้าได้หลายรุปแบบแม้กระทั้งหนังยางหนังสติกที่ใช้กัน

ก็ทำมาจากยางพาราทั้งสิ้นตลอดจนการนำยางมาทำ ถ้วยยาง จอดยาง สามารถทำออกออกเพื่อประโยชน์ใช้สอยในงานต่าง ๆ ได้ เพราะถ้วยยางมีคุณสมบัติ

ที่ไม่ติด ต่อวัตถุง่าย และสามารถล้างและทำความสะอาดได้อย่างง่ายดายจึงเหมาะแก่การนำมาใช้ในหลากหลายอาชีพครับ